วันอังคาร, เมษายน 30, 2024

ประวัติโรงพยาบาล

  • กลางเดือนสิงหาคม 2524 ราษฎรส่วนหนึ่งของอำเภอน้ำยืน – ได้ร่วมกันบริจาคที่ดิน จำนวน 20 ไร่ 80 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง เสร็จสิ้นในปลายปีงบประมาณ 2525 วันที่ 1 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2526 ได้เริ่ม เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการซึ่งในขณะนั้น นายแพทย์อรัญ ไตรรัตนาพิกุล รักษาการในตำแหน่งผู้อํานวยการ
  • ต่อมาวันที่ 7 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2527 ได้ทำการก่อสร้างอาคาร บริหารงานทั่วไปตามแบบ 5335 เอ ในขณะนั้นการบริการ ผู้ป่วยเป็นไปด้วยความยากลําบาก อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ อาทิ ข้อจํากัดทางด้านบุคคลากรเครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ไม่เพียงพอ การเดินทางมารับ บริการของราษฎรเป็นไปด้วยความยากลําบากเนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก กอรปกับในขณะนั้นยุทธการณ์ตามแนวชายแดน ไทย-กัมพูชาได้ปะทุขึ้น สร้างความยาก ลําบากให้กับเจ้าหน้าที่ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ขวัญและกําลังใจของเจ้าหน้าที่หวั่นไหวแต่อย่างใด ปลายเดือนมกราคม 2528 ได้ทำการก่อสร้างหลุมหลบภัยขึ้น ภายในบริเวณโรงพยาบาล จำนวน 2 แห่ง เพื่อเป็นสถานีที่หลบภัยจากกระสุนปืนใหญ่
  • เดือนเมษายน พุทธศักราช 2528 นายแพทย์อรัญ ไตรรัตนาพิกุล ย้ายไปปฏิบัติราชการที่โรงพยาบาล ศูนย์สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ดังนั้นนายแพทย์สุรพร ลอยหา ได้มาปฏิบัติราชการแทน ทำให้ขวัญและกําลังใจของเจ้าหน้าที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เดือนตุลาคม พุทธศักราช 2529 ได้รับมอบตึกสงฆ์อาพาธและ รับผิดชอบสถานีอนามัยตำบลโซง ภายในเดือนเดียวนั้นเอง
  • สถานการณ์สงครามตามแนวชายแดนไทย ในขณะนั้นมิได้มีทีท่าว่าจะลดลงเลยแม้แต่น้อยขณะนั้นจำนวนราษฎรและทหารที่บาดเจ็บจากสงครามก็เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นลำดับ จึงได้มีการก่อสร้างเรือนผู้ป่วยฉุกเฉินขึ้นรองรับสถานการณ์ดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • จนกระทั่งปลายปี พุทธศักราช 2530 สถานการณ์สงครามจึงได้สงบลง การพัฒนาใน รูปแบบต่างๆ จึงได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประชาชนจากถิ่นอื่นเริ่มทยอย เข้ามาจับจองที่ดินเพื่อการเกษตรและการพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ประชากร เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราการป่วยเป็นโรคสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งไม่เฉพาะแต่ราษฎรไทยเท่า นั้นยังมีราษฎรจากประเทศกัมพูชาอีกเป็นจำนวนมากเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลน้ำยืน จนบางครั้งไม่มีเตียงว่างพอสำหรับผู้ป่วยหนักไว้รักษาโรงพยาบาลน้ำยืนจึงต้องรับภาระหนักอึ้ง อยู่เช่นนี้ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 30 สิงหาคม 2534 การก่อสร้างโรงพยาบาล 30 เตียง จึงได้เริ่มขึ้นและเสร็จสิ้น ภายในเดือนสิงหาคมปีต่อมา รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง 1 ปีเต็ม
  • บัดนี้โรงพยาบาลน้ำยืนภายใต้การนําของนายแพทย์สุรพร ลอยหา ผู้อํานวยการโรงพยาบาลน้ำยืนพร้อมแล้วที่จะปฏิบัติภาระกิจอันสำคัญ บําบัดทุกข์ บํารุงสุข ให้กับชาวอำเภอน้ำยืน สืบไป